ปลากำจัดลูกน้ำ
การใช้ปลากินลูกน้ำยุงลายเป็นมาตรการสำคัญ และเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ได้ผล ดีแทนการใช้สารทีมีฟอส การศึกษาวิจัยเชิงกึ่งทดลอง(Quasi-ExperimentalStudy) ครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิผล ถึงความสามารถในการกินลูกน้ำยุงลาย Aedes aegypti ของปลาแต่ละชนิด ปลาที่ใช้ทดสอบมี12 ชนิดคือ ปลานิล ปลาหางนกยูง ปลาหมอ ปลากัดจีน ปลากระดี่ปลาสอดแดง ปลาเทวดา ปลาทอง ปลาแกมบูเซีย ปลากริม ปลาบู่และ ปลาซิวชนิดละ 3 ตัวทำการชั่งน้ำหนักปลาทุกตัวก่อนใส่ลงในภาชนะแก้วใสทรงสี่เหลี่ยมสำหรับทดสอบที่มีน้ำปริมาตร 2 ลิตร แล้วใส่ลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 ตอนปลายหรือวัยที่4 ตอนต้นจำนวน 25 ตัวต่อครั้ง สังเกตถ้าปลากินลูกน้ำหมดก็ เติมลูกน้ำลงไปเรื่อยๆ จนครบเวลา 12 ชั่วโมงตักลูกน้ำที่เหลือออก นับจำนวนลูกน้ำที่ปลากินทั้งหมดโดยเริ่มทดลอง ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ทำการทดลองติดต่อกัน 5 วัน หาค่าเฉลี่ยความสามารถของปลาในการกินลูกน้ำ
ผลการทดลองพบว่าปลานิลปลาหางนกยูงปลาหมอปลากัดจีนปลากระดี่ปลาสอดแดงปลาเทวดาปลาทอง ปลาแกมบูเซีย ปลากริม ปลาบู่และปลาซิวสามารถกินลูกน้ำยุงลายมีค่าเฉลี่ย 218.85, 176.15, 131.15, 120.29, 105.68, 94.60, 69.18, 65.35, 63.12, 59.33, 43.22 และ 41.29 ตัว/วัน/น้ำหนักปลา 1 กรัม ตามลำดับ ปลาที่ สามารถกินลูกน้ำได้มากที่สุดคือปลานิล รองลงมาคือปลาหางนกยูง จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นว่าปลาทุกชนิดมี ความสามารถในการกินลูกน้ำยุงลายได้ปริมาณการกินจำนวนมากหรือน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดแต่ขึ้นอยู่กับชนิดของ ปลาและความสามารถในการกินเมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักตัวเท่ากัน การศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการเลือก ชนิดของปลาที่นำไปใช้ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายแบบชีวภาพและเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีและนิยมใช้กัน
ดังนั้น การเลือกใช้ปลาควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของภาชนะที่ใช้และปลาควรหาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งการใช้ปลาจะมีความปลอดภัยทั้งยังลดปริมาณการใช้สารเคมีทำให้ประหยัดงบประมาณในการซื้อสารเคมีมาใช้อีก ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการชะลอการดื้อยาของยุงลายต่อสารเคมีในพื้นที่
|
ปลานิล |
|
ปลาทอง |
|
ปลาแกมบูเชีย |
|
ปลาสอดแดง |
|
ปลาหางนกยูง |
|
ปลาเทวดา |
|
ปลาชิว |
|
ปลากระดี่ |
|
ปลากัดจีน |
|
ปลาหมอ |
|
ปลาบู๋ |
|
ปลากริม |
อ้างอิง
www.kmutt.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น