วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

10ประเทศอาเซียนควรรู้

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) ประกอบด้วย 10 ประเทศ

เป้าหมายของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ 

การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

เรามาดูกันว่าประเทศในกลุ่ม AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความสำคัญ และแตกต่างกันอย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับ 10 ประเทศอาเซียน

1. บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

บรูไน เป็นประเทศที่ตลาดเปิดแบบเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศ จะมาจากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และนับเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และมีสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา โดยเป็นสินค้าประเภท เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2. กัมพูชา (Cambodia)


กัมพูชา เป็นประเทศที่เกิดสงครามภายในมายาวนาน และมีการยุติลงในปี 2534 จึงค่อยๆ มีการพัฒนาประเทศ โดยกัมพูชากำหนดนโยบายมุ่งการพัฒนาทางการเกษตร การท่องเที่ยว และมีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ


3. อินโดนีเซีย (Indonesia)



ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยภาคการผลิต ที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ภาคบริการ ภาคหัตถอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และเหมืองแร่ 

นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรรธรรมชาติที่มีค่าทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง แร่เหล็ก เป็นต้น 

เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

 4. ลาว (Laos)
ประเทศลาว มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง ลาว จีน ไทย เวียดนาม ด้วยภาคผลิตการเกษตร ป่าไม้

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

5. มาเลเซีย (Malaysia)

มาเลเซีย เป็นอีกประเทศที่พึ่งพาเหมืองแร่ และการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ซุง และดีบุก และมีรายได้หลักมาจากการผลิตสินค้าและบริการ

โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ภายในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

6. พม่า (Myanmar)
อาชีพหลักของ ประชาชนในประเทศ จะเป็นการเกษตรกร เช่น การปลูกข้าวเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ อุตสาหกรรม พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

7. ฟิลิปปินส์ (Philippines)


ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน และมีการกระจายรายได้โดยไม่เท่าเทียมกัน และยังประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง ฟิลิปินส์ มีสินค้านำเข้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เหล็ก ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

8. สิงคโปร์ (Singapore)


สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดเสรีทางการค้า และมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงเท่ากับกลุ่มประเทศในยุโรป
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

9. เวียดนาม (Vietnam)


สินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม จะเป็นประเภทสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยังเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะว่า มีประชากรจำนวนมาก และค่าจ้างแรงงานต่ำ อีกทั้งชาวเวียดนาม ยังมีอุปนิสัยขยันอีกด้วย
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

10. ประเทศไทย (Thailand)

ประเทศไทย มีสินค้าส่งออกได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบรถยนต์ แผงวรจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครือ่งประดับ และผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ เงินแท่งและทองคำ 
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


อ้างอิง
www.sanook.com

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระนามเต็มของพระมหากษัตริย์ไทย


รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล


รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร


อ้างอิง
www.gsbgen.com

ประโยชน์ของกัญชา

ประโยชน์ของกัญชา

  1. ในอดีตที่ผ่านมากัญชาถูกนำไปผสมกับอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ทางการแพทย์จึงเลือกใช้สาร THC ที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีชื่อว่า Dronabinol นำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งพบว่าสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยกลุ่มนี้ และทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดียิ่งขึ้น
  2. ในปัจจุบันมีการนำกัญชามาใช้เป็นยาลดความดันในนัยน์ตาของคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) แต่ผลที่ได้ยังไม่ชัดเจน และยังต้องรอการพิสูจน์อยู่ นอกจากนี้ยังมีการนำสารสำคัญในเรซินมาใช้เป็นยาระงับการอาเจียนที่เกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับการรักษาโดยวิธีเคมีบำบัด (chemotherapy)
  3. การที่ร่างกายได้รับสาร Cannabinoids ในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้าที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้สูงอายุได้ เนื่องจากสาร Cannabinoids จะช่วยปรับสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ผู้ใช้มีความสุข ใจเย็นลง และลดการแสดงพฤติกรรมรุนแรงในทางด้านอารมณ์ (หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม)
  4. จากงานวิจัยพบว่า สาร THC สามารถยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะฉะนั้นกัญชาจึงสามารถป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ได้
  5. จากการศึกษาพบว่า กัญชามีสรรพคุณในการฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้อร้ายในสมองเหี่ยวลดลงได้ โดยจากการศึกษาของสำนักปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติอเมริกัน แสดงให้เห็นว่า สารสกัดของกัญชาสามารถช่วยให้คนไข้ตอบสนองกับการบำบัดด้วยการฉายรังสีดีขึ้น ส่วนการทดลองกับสัตว์ ก็พบว่าสารจากกัญชาสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ ทำให้เนื้อร้ายหดเหี่ยวลง โดยมีหลักฐานว่า สารสกัดจากกัญชาสามารถทำให้เนื้อร้ายในสมองชนิดที่ร้ายแรงที่สุดมีขนาดลดลง ซึ่งสารสกัดเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ควบคู่กับการฉายแสง จะทำให้ฤทธิ์ในการฆ่ามะเร็งมีเพิ่มมากขึ้นด้วย
  6. จากการทดลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากกัญชาอาจสามารถรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบของสมองและไขสันหลัง หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบอื่น ๆ หรือแม้แต่อาจช่วยทำลายเนื้องอกที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ จากการวิจัยพบว่า คนไข้ที่รับ THC หรือสารสกัดจากกัญชาอีกตัวที่เรียกว่า cannabidiol (CBD) สามารถช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการสั่น สามารถทำให้นอนหลับ และมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น อีกทั้ง CBD ยังออกฤทธิ์ได้นานกว่าการใช้สเตียรอยด์หรือยาแก้อักเสบอีกด้วย จึงทำให้ในแคนาดามีการใช้สเปรย์ที่มีส่วนผสมของ cannabinoid เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบของสมองและไขสันหลัง (Multiple Sclerosis - MS)
  7. สาร cannabinoid ที่พบในกัญชาอาจมีความสัมพันธ์กับระบบการเผาผลาญของร่างกาย โดยพบว่าในผู้ที่สูบกัญชาจะเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่ไม่เคยสูบ โดย Ms. Penner และคณะ ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบกัญชากับระดับน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครจำนวน 4,657 ราย (แบ่งเป็น กลุ่มกำลังสูบ, กลุ่มที่เคยสูบแต่เลิกแล้ว และกลุ่มที่ไม่เคยสูบ) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่สูบกัญชามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่เคยสูบกัญชาร้อยละ 16 นอกจากนั้นยังพบว่ามีค่า HOMA-IR ต่ำกว่าร้อยละ 17 ระดับคอเลสเตอรอล HDL หรือไขมันชนิดดี สูงกว่า 1.63 mg/dL และมีรอบเอวเล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มที่เคยสูบแต่เลิกไปแล้ว ไม่พบว่ามีการลดลงของระดับน้ำตาลเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยสูบ จากการทดลองดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่า ผลของกัญชาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดจะมีผลเฉพาะในช่วงที่ใช้กัญชาเท่านั้น[16]
  8. เส้นใยของลำต้น สามารถนำมาใช้ในการทอผ้าหรือทอกระสอบได้ ซึ่งจะได้ผ้าที่มีคุณภาพดี มีความเหนียวสูง มีค่าการต้านแรงดึงสูง มีความยืดหยุ่น มีแรงบิดสูง น้ำหนักเบา และมีความคงทนมาก นิยมใช้ทำเสื้อเกราะ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์รถยนต์
  9. ทุกวันนี้บริษัททำกระดาษของอเมริกาและญี่ปุ่น ต้องทำลายป่าไม้ปีละกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตร แต่การปลูกกัญชาซึ่งเป็นพืชที่มีวงชีวิตเพียง 120 วัน สามารถที่จะปลูกได้ 10 ตันต่อพื้นที่ 2 ไร่ ภายในเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่งปลูกได้เร็วกว่าฝ้าย 4 เท่า และให้น้ำหนักมากกว่าฝ้ายถึง 3 เท่า อีกทั้งกัญชายังไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง และยังช่วยเพิ่มคุณภาพของดิน โดยจากการศึกษาพบว่า กัญชาสามารถปลูกและนำมาทำกระดาษได้มากเป็น 4 เท่าของการทำไม้ยืนต้น เส้นใยมีคุณภาพที่ดีกว่า ไม่ต้องใช้คลอรีนเหมือนการทำจากไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดสารไดออกซิน ส่วนที่เหลือจากการทำเส้นใยก็สามารถนำมาผสมกับปูนขาวและน้ำ ก็จะได้วัสดุที่เบาและแข็ง มีความทนทานกว่าปูนซีเมนต์ (มีการกล่าวกันว่า กระดาษที่ใช้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิล ธงชาติอเมริกัน หรือกางเกงยีนส์ลีวายที่ลือชื่อ แต่เดิมก็ทำมาจากป่านที่ได้จากต้นกัญชาทั้งสิ้น)
  10. ใบจากพืชชนิดนี้สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
  11. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจะเป็นน้ำมันไม่ระเหย (fixed oil) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำสีทาบ้าน ทำสบู่ เป็นต้น
  12. นอกจากนี้ เศษหรือกากที่ได้จากการสกัดเอาน้ำมันจากเมล็ดออกแล้ว ยังใช้เป็นอาหารของโค กระบือ ได้อีกด้วย









อ้างอิง
www.medthai.com

ยุคสมัยของญี่ปุ่น

ยุคหิน 35,000 – 14,000 ปีก่อนค.ศ.

เมื่อ 100,000 ปีก่อน ที่แผ่นดินญี่ปุ่นยังติดกับแผ่นดินใหญ่อยู่  ก็มีคนอยู่แถบนั้นอยู่แล้ว  พอ 30,000 ปีก่อนค.ศ. ก็เป็นยุคหินที่เหมือนในหนัง ที่ใช้หินจุดไฟทำมีดทำหอกล่าสัตว์


1. ยุคญี่ปุ่นโบราณ


1.1   ยุคโจมง 14,000 – 400 ปีก่อนค.ศ.

เริ่มมีเครื่องปั้นดินเผา

1.2   ยุคยะโยอิ 400 ปีก่อนค.ศ. – ค.ศ.250

เริ่มมีการปลูกข้าว ทำการเกษตร ทำโลหะ

1.3   ยุคยะมะโตะ

–  ยุคโคะฟุง ค.ศ.250 – ค.ศ.538

เริ่มมีการทอผ้า ต่อเรือ
กลุ่มเล็กๆเริ่มรวมตัวกัน
ศูนย์กลางอยู่ที่ที่ราบยะมะโตะ

–  ยุคอะซึกะ ค.ศ.538 – ค.ศ.710

วัดโฮริวจิ 
ศาสนาพุทธเริ่มเข้ามามีกษัตริย์แล้วศูนย์กลางอยู่ที่นะระ
วัดแรกถือกำเนิดขึ้น ชื่อว่า โฮริวจิ เป็นวัดไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น


2. ยุคญี่ปุ่นคลาสสิก

2.1   ยุคอะซึกะ ค.ศ.538 – ค.ศ.710

              -

2.2  ยุคนะระ ค.ศ.710 – ค.ศ.794

ตั้งเมืองหลวงแห่งแรกชื่อ เฮโจเกียวการปกครองก็ตามแบบจีน แต่ไม่เหมาะเลยอยู่ได้ไม่นาน
เกิดโรคระบาด ข้าวยากหมากแพง ขึ้นภาษี

2.3  ยุคเฮอัง ค.ศ.794 – ค.ศ.1185

เมืองเฮอังสมัยก่อนก็คือเกียวโตในปัจจุบัน
เป็นยุคที่อยู่นาน ยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองมาก
มีการปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆที่ได้รับมาจากภายนอกให้กลายมาเป็นรูปแบบของตัวเอง เช่นตัวอักษรจีนที่ยาก ก็ปรับให้ง่าย
ราชสำนักใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ ความสัมพันธ์กับทหารก็เลยเริ่มคลอนแคลน
ปลายยุคนี้เป็นยุคที่จักรพรรดิถูกยึดอำนาจจากเหล่าขุนนาง โดยสรุปดังนี้
เริ่มจากกลุ่มขุนนางที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด คือตระกูลฟุจิวะระ  (บางที่ก็บอกว่า คำว่าฟุจิวะระไม่ใช่เป็นนามสกุล แต่เรียกเป็นกลุ่มหรือเครีอฟุจิวะระ  แต่ในความเข้าใจก็คือเป็นนามสกุลนั่นแหละ)
สาเหตุที่ตระกูลฟุจิวะระมีอิทธิพลมากเพราะ จักรพรรดิเทนจิ ได้พระราชทานชื่อฟุจิวะระ ให้กับฟุจิวะระ โนะ คามาตาริที่มีความดีความชอบในการปฏิรูปไทอิกะ
จากนั้นคนของฟุจิวะระได้เข้ายึดอำนาจในราชสำนัก ผูกขาดตำแหน่งสูงสุดรองจากจักรพรรดิมากว่า 500 ปี  โดยให้บุตรสาวของเครือฟุจิวะระเข้าแต่งงานกับจักรพรรดิ ทำให้จักรพรรดิองค์ต่อๆมามีเชื้อสายของเครือฟุจิวะระสืบต่อมา
การปกครองส่วนใหญ่จะเป็นคนของตระกูลฟุจิวะระแทบทั้งสิ้น มีการซื้อขายตำแหน่ง ครอบครองที่ดิน มีทรัพย์สินมากกว่าท้องพระคลังซะอีก
ต่อมาก็มีตระกูลซามูไร ที่ชื่อว่า มินาโมโตะ โยริโมโมโตะ (ก็สืบเชื้อสายจากจักรพรรดิเหมือนกัน)เข้ามามีอำนาจพอจะต่อกรกับเครือฟุจิวะระได้
อีกตระกูลหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันก็คือ ตระกูลไทระ ซึ่งก็มีเชื้อสายจักรพรรดิองค์ก่อนๆอยู่เหมือนกัน จับมือกับตระกูลฟุจิวะระ เพื่อรบกับตระกูลมินาโมโตะ
แต่เมื่อตระกูลฟุจิวะระกับไทระแพ้มินาโมโตะ ทำให้ตระกูลฟุจิวะระและไทระต้องล่มสลายลง และมินาโมโตะ โยริโมโมโตะก็ตั้งตัวเองเป็นโชกุนแห่งคามาคุระ  แต่ตระกูลฟุจิวะระก็ยังสืบทอดสายจักรพรรดิอยู่

ตระกูลฟุจิวะระ

ตระกูลมินาโมโตะ

ตระกูลไทระ

3. ยุคศักดินาญี่ปุ่น


3.1  ยุคคะมะกุระ ค.ศ.1185 – ค.ศ.1333

กำเนิดตำแหน่งโชกุน ตั้งรัฐบาลทหาร โดยฐานบัญชาการมาที่เมืองคะมะกุระ(ใกล้ๆโตเกียว) แต่เกียวโตก็ยังถือว่าเป็นเมืองหลวงอยู่
รัฐบาลทหารนี้เน้นการประหยัด ป้องกันตัวเอง กล้าหาญ รักเกียรติ(bushido) ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของซามูไร (ตรงข้ามกับยุคนะระเลย)
จากนั้นอำนาจถูกเปลี่ยนจากตระกูลมินาโมโตะ  ไปยังตระกูลโฮโจ  ซึ่งเป็นตระกูลทางภรรยา
จักรพรรดิ ก่อกบฏคิดจะยึดอำนาจจากโชกุน(ใครแพ้ก็เรียกว่ากบฏทั้งนั้นล่ะ) เลยถูกเนรเทศ แต่ลูกๆของจักรพรรดิยังสู้กับตระกูลโฮโจไม่ถอยที่เมืองคะมะกุระ
ซามูไรที่ไม่พอใจเผด็จการทหารของตระกูลโฮโจก็มาเข้าร่วมกับกลุ่มของจักรพรรดิมากขึ้น
ฝ่ายโฮโจก็เลยส่ง อะชิคะงะ ทะกะอุจิ มาต้านทัพจักรพรรดิไว้ แต่เขากลับแปรพักตร์ไปเข้าร่วมกับจักรพรรดิ  แล้วเป็นคนนำทัพยึดเกียวโต และคะมะกุระไว้ได้
ต่อมากองทัพมองโกลเข้าบุกตอนเหนือของเกาะคิวชู  แต่โดนพายุคะมิคะเซ่  เลยต้องถอยทัพไป  แต่อำนาจของค่ายทหารคะมะกุระที่เริ่มเสื่อมมาก่อนแล้ว  ก็เลยจบลงอย่างง่ายดาย

ตระกูลโฮโจ 

3.2  ยุคการฟื้นฟูเคมมุ ค.ศ.1333 – ค.ศ.1336

จักรพรรดิเข้ามาฟื้นฟูการปกครอง  ทำให้เหล่าซามูไรไม่พอใจที่อำนาจจะไปตกที่ขุนนางและราชสำนักอีก
อะชิกะงะ ทะดะโยชิ (น้องของ อะชิคะงะ ทะกะอุจิ) ได้ลักพาตัวลูกอีกคนของจักรพรรดิ(มาเป็นหุ่นเชิด)ไปคะมะกุระและจัดตั้งการปกครองที่นั่น เพื่อแสดงให้เห็นว่าซามูไรยังต้องการรัฐบาลโชกุน
ฝ่ายจักรพรรดิก็เลยตั้งลูกอีกคนเป็นโชกุน  แต่อะชิกะงะ ทะดะโยชิ  ก็หาว่าโชกุนคนที่จักรพรรดิตั้ง  ได้ก่อกบฏต่อจักรพรรดิ จึงหาเรื่องจับตัว 
ฝ่ายรุ่นลูกของตระกูลโฮโจที่ตกไปแล้ว  ก็ก่อกบฏขึ้นมาอีก เพราะอยากได้อำนาจคืน เลยยกทัพไปขับไล่ อะชิกะงะ ทะดะโยชิ
ก่อนที่ อะชิกะงะ ทะดะโยชิ จะหนีออกจากเมือง ก็ฆ่าลูกของจักรพรรดิคนที่ถูกตั้งเป็นโชกุนนั้นก่อน  แล้วตระกูลโฮโจก็เข้ามาครองอำนาจแทน
แต่ไม่นาน อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ก็เข้ามาปราบกบฏตระกูลโฮโจทีหลัง
ฝ่ายจักรพรรดิเลยฉวยโอกาสนี้ ส่งทัพมาจากเกียวโต เพื่อมาปราบ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ  แต่ฝ่ายจักรพรรดิกลับพ่ายแพ้
อะชิกะงะ ทะกะอุจิ โกรธก็เลยยกทัพไปบุกเกียวโตของจักรพรรดิบ้าง  แต่ก็พ่ายแพ้กลับมาอีก  เพราะยังมีซามูไรที่ภักดีต่อราชสำนักอยู่มาก
อะชิกะงะ ทะกะอุจิ หนีไปคิวชู แล้วรวบรวมพรรคพวกยกทัพเข้าบุกเกียวโตอีก และสำเร็จด้วย แล้วตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้น ชื่อจักรพรรดิโคเมียว (เป็นราชวงค์ฝ่ายเหนือ)
จักรพรรดิองค์เดิม หนีมาทางใต้ แล้วตั้งราชสำนักขึ้นใหม่ที่เมืองโยชิโนะ (เป็นราชวงค์ฝ่ายใต้)

3.3  ยุคมุโระมะจิ

– ยุคนัมโบะกุโจ ค.ศ.1336 – ค.ศ.1392

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ขึ้นเป็นโชกุนอยู่ที่เกียวโต รับผิดชอบเรื่องการทหาร ส่วน อะชิกะงะ ทะดะโยชิ ดูแลเรื่องการปกครอง
แต่ไม่นานทั้งสองก็เกิดขัดแย้งกัน เพียงแค่ทะดะโยชิไม่พอใจที่พี่ชายตั้งคนอื่นเป็นคนสนิท เลยลอบฆ่าคนสนิทนั้นแต่ไม่สำเร็จ  จึงถูกขับไล่ออกจากบะกุฟุ
ทะดะโยชิ เลยไปบวช1ปี แล้วหันไปสวามิภักดิ์กับราชวงศ์ฝ่ายใต้ แล้วบุกเข้าเกียวโต แต่ก็ได้แค่การปกครองส่วนของตนกลับมาเท่านั้น แถมยังต้องระแวงว่าจะโดนฆ่าอีก เลยย้ายไปตั้งการปกครองที่คะมะกุระ แต่ก็ถูกวางยาพิษในอีกไม่นานอยู่ดี
ราชสำนักฝ่ายใต้เห็นว่าตระกูลอะชิกะงะมีความขัดแย้งภายใน เลยฉวยโอกาสเข้าบุกและสำเร็จ แต่เพียงแค่เดือนเดียวก็ถูกยึดกลับไปอีก
ยุคนี้ในช่วงโชกุนรุ่นที่3 ที่ชื่อ อะชิคะงะ โยชิมิสึ (คนที่ชอบเรียกอิ๊กคิวซังไปถามปัญหา ส่วนอิ๊กคิวซังก็คือลูกของจักรพรรดิองก่อน)เป็นช่วงที่เจริญรุ่งเรืองมาก  ระบบชลประทาน การเพาะปลูกที่ดี การค้าเจริญ เคร่งครัดเรื่องลัทธิบุชิโด ที่มีความอดทนอดกลั้นสูง อยู่ในความเรียบง่าย
เรียกว่ารวยขนาดโชกุนอะชิคะงะ โยชิมิสึ ถึงกับสร้างตำหนักทองไว้เพื่ออาศัยอยู่เลย 
แต่ก็ยังมีการปะทะกันระหว่างพวกไดเมียว(หัวหน้ากลุ่มนักรบในเขตท้องถิ่น)อยู่บ่อยๆ
ยุคนี้ตอนปลายสงครามภายในเริ่มระอุขึ้นทีละน้อยก็จากไดเมียวที่แตกแยกออกเป็นสองกลุ่ม แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบโชกุน ที่ชนชั้นนักรบจะมีอำนาจมาก
โชกุนคนที่8ชื่อ อะชิกะงะ โยชิมาสะ ได้สร้างตำหนักเงิน (ที่ในปัจจุบันเรียกว่าวัดเงินหรือวัดกินคะคุจิ)
วัดกินคะคุจิ
ชาวโปรตุเกสเริ่มเข้ามาค้าขายแล้ว และมีศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ด้วย
ช่วงปลายของยุคนี้ โอดะ โนบุนางะ ซึ่งเป็นตระกูลไดเมียว ร่วมกับผู้นำอีกสองคนคือ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ และ โทกุงะวะ อิเอยะซุ ต้องการรวมประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิ ได้นำทับเข้ายึดเกียวโต

– ยุคเซงโงะกุ ค.ศ.1392 – ค.ศ.1573

เกิดสงครามกลางเมือง เพราะอำนาจของโชกุนตระกูลอะชิคะงะเสื่อมลง ทำให้ไดเมียวผู้ปกครองแคว้นต่างๆพากันตั้งตนเป็นอิสระ และทำสงครามกันระหว่างเมือง
ว่ากันว่าตอนสงครามโอนิน  มีการเผาบ้านเรือนในเกียวโตย่อยยับ ประเทศตกอยู่ในกลียุค แต่โชกุนยังคงอยู่ในปราสาททอง(คินคะคุจิ)ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
โอดะ โนบุนะงะ ที่ตอนนั้นเป็นเจ้าเมืองอยู่ตอนกลางของเกาะฮอนชู  ต้องการรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น  ประมาณว่ากำจัดอำนาจมุโระมะจิ  แต่สร้างอารยธรรมอะซึจิโมโมะยะมะของตนขึ้นมาแทน  เพื่อความมั่นคงของตัวเอง
โอดะ โนบุนะงะ
ตระกูลอะชิคะงะ

3.4  ยุคอะซึจิโมโมะยะมะ

–  ยุคเซงโงะกุ ค.ศ.1573 – ค.ศ.1603

โอดะ โนบุนะงะ  ไม่ได้ตั้งตัวเองเป็นโชกุน แต่เป็นผู้บัญชาการทหาร และได้นำขุนศึกทั้งสองคือ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ  กับ โทกุงะวะ อิเอยะซึ  เข้าปราบพวกไดเมียวที่แข็งข้อ ตามแคว้นต่างๆทั่วประเทศ เพื่อรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว
แต่ต่อมามีขุนพลคนสนิทคนหนึ่งของโอดะ โนบุนะงะ ได้ยกทัพมาฆ่าโอดะ โนบุนะงะ ได้สำเร็จ และฆ่าลูกของโนบุนะงะที่อยู่ในปราสาทนิโจอีกด้วย
แต่ไม่นานขุนพลคนนี้ก็ถูก โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ เข้าตีกลับ จึงประกาศตัวเองว่าเป็นผู้พิทักษ์ตระกูลโอดะ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ เพราะต่างก็รู้เจตนาที่แท้จริงออก
แต่โทกุงะวะ อิเอยะซึ และไดเมียวคนอื่นๆก็ต้องยอมสงบศึกกับ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ  โดยการต้องส่งลูกสาว หรือคนสำคัญไปเป็นตัวประกันอยู่ที่ ปราสาทโอซะกะ
โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ  ขึ้นชื่อว่าได้รวมประเทศได้สำเร็จ และตั้งสภาอาวุโสทั้ง5 โดยมีไดเมียวอาวุโส5คน (หนึ่งในนั้นก็คือ โทกุงะวะ อิเอยะซึ)
พอ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ถึงแก่กรรม ก็เกิดการแย่งอำนาจกันระหว่างไดเมียวทั้ง5  โดยแบ่งเป็น2ขั้วอำนาจ
ฝ่ายตะวันตก มีผู้นำคือ อิชิดะ มิสึนะริ
ฝ่ายตะวันออก มีผู้นำคือ โทกุงะวะ อิเอยะซุ
ทั้งสองขั้วอำนาจมีการรบกันอยู่บ่อยครั้งจนในที่สุด โทกุงะวะ อิเอยะซุ ก็เป็นฝ่ายชนะ และอีกฝ่ายก็ต้องถูกประหารไปตามระเบียบ
ช่วงปลายของยุคนี้ โทกุงะวะ อิเอยะซุ ได้เข้าโจมตีปราสาทโอซะกะ ซึ่งเป็นที่พักของตระกูลโทโยโตมิ
สรุปแล้ว จากที่ทั้งสามมีเจตนารมณ์เดียวกันคือการรวมประเทศ  เป็นนักรบที่รวมตัวกันเพื่อสร้างประเทศขึ้นใหม่  กลับกลายมาเป็นศัตรูกัน โดย
โอดะ โนบุนะงะ ที่เป็นผู้นำ  ใจร้อน เลยตายก่อนเพื่อนเลย
โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ  สวมรอย และได้เป็นใหญ่ต่อ (แต่ไม่ได้เป็นโชกุน) ใหญ่รุ่นเดียวก็หมด
โทกุงะวะ อิเอยะซุ  ผู้ใจเย็นรอโอกาสเหมาะ และได้เป็นโชกุนในยุคถัดมา แบบปราศจากผู้ต่อกร และมีทายาทสืบทอดตระกูลโชกุนอีกนับสิบรุ่นเลยทีเดียว

โทกุงะวะ อิเอยะซุ

โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ

4. ยุคใกล้


4.1  ยุคเอโดะ ค.ศ.1603 – ค.ศ.1868

โทกุงะวะ อิเอยะซุ   ตั้งตัวขึ้นเป็นโชกุน ย้ายเมืองหลวงจากเกียวโต มาที่เมืองเอโดะ(โตเกียวในปัจจุบัน)
มีการสร้างแบบแผนใหม่ แทบจะทุกแง่มุมของวิถีชีวิต ทั้งการเมือง สังคม วัฒนธรรม
นโยบายปิดประเทศ ถือเป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาเสถียรภาพทางสังคม และการเมือง
แต่จริงๆแล้ว ชาวยุโรปได้เข้ามาก่อนหน้านั้นตั้งนานแล้ว  ทั้งอาวุธ วิทยาการต่างๆ ความรู้การแพทย์ ที่สำคัญคือศาสนาคริสต์ ที่โชกุนคิดว่ามันคืออาวุธร้ายแรงที่สุด
เลยห้ามชาวต่างชาติเข้าประเทศ ยกเว้นกลุ่มพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ และจีนที่นะงะซะกิ ญี่ปุ่นจึงได้มีโอกาสรับรู้โลกภายนอกผ่านกลุ่มคนเหล่านี้เท่านั้น
ประชากรแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
นักรบ หรือ ซามูไร 5%
ชาวไร่ชาวนา 80%  จะอยู่ในชนบทเท่านั้นไม่ได้รับอนุญาติให้เข้ามาในเมืองกันง่ายๆ
ช่างฝีมือและพ่อค้า 15% กลุ่มนี้จะเรียกรวมๆว่าชาวเมือง จะอยู่ใต้การปกครองของนักรบ
เป็นยุคที่มีความสงบสุข ทำให้มีสิ่งประดิษฐ์ และศิลปะกรรมด้านต่างๆออกมามากมาย
ปลายยุคนี้ถูกกดดันให้เปิดประเทศ แถมกฏระเบียบที่เข้มงวดทำให้เกิดความตึงเครียดในบ้านเมืองมากขึ้น
พลเรือจัตวา แมทธิว ซี เพอร์รี แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นำเรือดำ 4 ลำมากดดันที่อ่าวโตเกียว  และสำเร็จในปีถัดไป ประเทศอื่นๆเห็นอเมริกาทำได้ก็เรียกร้องบ้าง สุดท้ายญี่ปุ่นก็ต้องยอมเปิดประเทศ
ด้วยการที่กระแสทางสังคมและการเมืองเปลี่ยนไป ทำให้ระบบศักดินาเสื่อมศรัทธา กระทั่งสิ้นสุดลง และถวายคืนอำนาจอธิปไตยให้กับจักรพรรดิในการปฏิรูปเมจิ



5. ยุคปัจจุบัน


5.1  เมจิ ค.ศ.1868 – ค.ศ.1912

ยุคนี้เรียกว่าการปฏิรูปเมจิ ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเมจิ ประเทศมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
มีการย้ายเมืองหลวงจากเกียวโต ไปเอโดะ  ซึ่งยุคนี้มีการเปลี่ยนชื่อจากเอโดะ เป็นโตเกียว 
มีการยกเลิกการแบ่งชนชั้น เพื่อให้ทุกคนทุ่มเท มีความกระตือรือร้นในการศึกษา และรับอารยธรรมตะวันตกมาใช้
คนต่างชาติจะรู้สึกได้ถึงความรุนแรง และความตื่นตัวของคนญี่ปุ่นที่สะสมมานาน  จนระเบิดพลังความอยากรู้อยากเห็นอย่างเต็มที่
การรบกับจีนก็ถึงกับได้ไต้หวันมาครอง  รบกับรัสเซียก็ได้ซัคคาลินตอนใต้คืนมา แถมยังได้เกาหลีมาเป็นดินแดนในอารักขาอีกด้วย
ถือว่าจักรพรรดิเมจิใช้การปกครองประเทศด้วยความเข้าใจ และสร้างสรรค์ แต่ก็สวรรคตก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่1  ซึ่งหลังจบสงคราม  ญี่ปุ่นก็ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก  ว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกเลยทีเดียว

5.2  ไทโช ค.ศ.1912 – ค.ศ.1926

จักรพรรดิไทโ ขึ้นครองราชแทนจักรพรรดิเมจิ
การปกครองยังคงเป็นแบบระบบ  สภาพอุตสาหกรรมยังเติบโตอย่างรวดเร็ว  แต่ด้วยเศรษฐกิจโลกตกต่ำ  ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นถดถอยตาม

จักรพรรดิไทโ

5.3  โชวะ

–   จักรวรรดินิยม ค.ศ.1926 – ค.ศ.1945

จักรพรรดิฮิโรฮิโตะขึ้นครองราชแทนจักรพรรดิไทโช
ความเชื่อมั่นในพรรคการเมืองน้อยลง และในที่สุดก็ต้องยุบพรรคการเมืองทั้งหมด  และตั้งพรรคการเมืองแห่งชาติขึ้นมาแทน  แต่ก็ไม่ต่างอะไรกับสภาตรายางเท่านั้น  ความวุ่นวายนำไปสู่สงครามแปซิฟิก  และเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่2ในอีกไม่กี่ปี

จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ

–   ญี่ปุ่นภายใต้การดูแล ค.ศ.1945 – ค.ศ.1952

ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่2 ได้ยอมรับข้อตกลงยอมแพ้สงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร  และประชาชนได้วางอาวุธตามพระราชโองการของจักรพรรดิ
ญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตรนานถึง 6 ปี ภายใต้การนำโดย พลเอกดักลาส แม็คอาเธอร์ โดยมีข้อตกลงดังนี้
–  ห้ามมีกองกำลังป้องกันประเทศและคณะปฏิวัติ มีได้แต่ป้องกันภายในประเทศเท่านั้น
–  ต้องเป็นชาติแห่งประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
–  เปิดประเทศ ค้าขายอย่างเสรี พัฒนาทุกๆด้านให้ทันโลกาภิวัฒน์ ข้าราชการทำธุรกิจอื่นๆได้ด้วย
–  ห้ามแยกประเทศ
–  สหประชาชาติต้องคุ้มครองการรุกรานของประเทศอื่นๆให้ญี่ปุ่นด้วย (ก็ไปห้ามเขาไม่ให้มีทหารแล้วนี่นะ)
–  สนธิสันญาสันติภาพนี้ชื่อ ซานฟรานซิสโก
–  ญี่ปุ่นมีสิทธิบริหารกิจการต่างๆได้แล้วหลังจากถูกตัดสิทธิไประหว่างการถูกยึดครอง

–  หลังสงคราม ค.ศ.1952 – ค.ศ.1989

งานเร่งด่วนที่สุดคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นเลยเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ ทำให้มีการค้าเสรีกับหลายๆฝาย ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้มแข็งจนแข่งขันกับโลกได้
ญี่ปุ่นต้องพยายามปรับปรุงสถานะทางการทูตระหว่างประเทศอย่างมาก  สร้างสัมพันธ์กับประเทศต่างๆจนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญหลายๆอย่าง
สัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นของชาวญี่ปุ่นก็คือการจัดโอลิมปิคที่โตเกียวเมื่อปี ค.ศ.1964
ปัจจัยพื้นฐานต่างๆในชีวิตประชาชนดีขึ้นมากจนทำให้เกิดความต้องการใหม่ๆ เช่น คุณภาพชีวิต ปัญหามลพิษ โรงเรียน ความเท่าเทียม (ประมาณว่ากินอิ่มนอนหลับไม่เพียงพอซะแล้ว ก็ต้องอยากได้สิ่งที่ดีขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา)

ปีค.ศ.1970 เศรษฐกิจเริ่มทรุดหนัก  คนญี่ปุ่นมีความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ค่านิยมที่แตกต่างกันมากขึ้น การแสดงออกมากขึ้น แสวงหาเป้าหมายส่วนบุคคลมากขึ้น

5.4  เฮเซ ค.ศ.1989 – 2019

                  จักรพรรดิอะกิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ

      5.5  เรวะ ค.ศ. 2019ปัจจุบัน

                 สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

 จักรพรรดิอะกิฮิโตะ


สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ



อ้างอิง
www.gonoguide.com