วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563

ขงจื้อเกิดในแคว้นหลู่ เมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล บิดาของขงจื้อได้เสียชีวิตในขณะที่ขงจื้อมีอายุเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น
     มารดาของขงจื้อเสียชีวิตลงในขณะที่ท่านมีอายุ 17 ปี ซึ่งตอนนั้นขงจื้อได้ทำงานเป็นข้าราชการที่มีหน้าที่ดูแลคลังเสบียง
   


 ท่านขงจื้อเริ่มสนใจการเมืองการปกครองตั้งแต่ท่านอายุ 20 กว่าปี และถูกเชิญให้ไปถกปัญหาแลกเปลี่ยนกับเจ้าผู้ปกครองแคว้นฉีและท่านเยี่ยนอิงอยู่หลายครั้ง
                     ......เมื่อขงจื้ออายุได้30กว่าปีขงจื้อได้ลาออกจากราชการแล้วหันไปทำอาชีพครูโดยตั้งเป็นสำนักสอนบุคคลทั่วไปอย่างเปิดกว้าง

    ต่อมาเมื่อขงจื้ออายุได้ราว 51 ปี ท่านก็ได้กลับมารับราชการและได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดี

        ถึงแม้ว่าจะเป็นการกลับมารับราชการอีกครั้งในช่วงเวลาที่ไม่นาน ขงจื้อทำหน้าที่ของท่านได้ดี ทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง แต่ว่าการกระทำของท่านกลับไปขัดผลประโยชน์ของทั้ง 3 ตระกูลใหญ่

         ...........ทั้ง3ตระกูลใหญ่จึงร่วมกันพยายามใส่ร้ายขงจื้อเพื่อทำให้ท่านลาออกจากงานราชการในขณะที่ท่านมีอายุ 54 ปี




  ในช่วง 497 ปีก่อนคริสตกาล หลังออกจากราชการท่านขงจื้อและศิษย์ก็ได้ออกเดินทางจากแคว้นหลู่ เพื่อไปเรียนรู้เรื่องการปกครองและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอื่นๆ ของแต่ละแคว้น    



......ในขณะที่ขงจื้อออกเดินทางไปแคว้นอื่นๆท่านก็มักจะให้คำปรึกษาและสอนหนังสือ อยู่บ่อยครั้ง

     เมื่อขงจื้ออายุได้ 68 ปีท่านก็ได้กลับมาสู่แคว้นหลู่อีกครั้ง ขงจื้อ ได้เปิดโรงเรียนและมี ลูกศิษย์ที่ท่านได้อบรมสั่งสอน
รวมทั้งหมดกว่า 3,000 คน

     ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมในช่วงอายุ 72ปี หรือ(ประมาณ 479 ปีก่อนคริสตกาล)

แต่จำนวนลูกศิษย์ที่ขงจื้อได้สอนไปนั้นกลับมีเพียงแค่ 72 คนเท่านั้นที่มีชื่อเสียง
     แม้ว่าขงจื้อถึงแก่กรรมไปแล้วแต่ว่าคำสอนของท่านยังคงอยู่และได้ถูกฝังรากโดยมีอิทธิพลไปในโซนเอเชียตะวันออก เป็นส่วนใหญ่

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

FRIENDSHIP

6/9




MEMBER

15 นาย อภิสิทธิ์ จักรหนู
6/1.1 6/1.2 6/3 6/4 6/5 6/6 6/7 6/8 6/9 6/10 6/11 6/12 6/13 6/14 6/15 6/16
HOMEPAGE

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

10ประเทศอาเซียนควรรู้

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) ประกอบด้วย 10 ประเทศ

เป้าหมายของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ 

การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

เรามาดูกันว่าประเทศในกลุ่ม AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความสำคัญ และแตกต่างกันอย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับ 10 ประเทศอาเซียน

1. บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

บรูไน เป็นประเทศที่ตลาดเปิดแบบเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศ จะมาจากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และนับเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และมีสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา โดยเป็นสินค้าประเภท เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2. กัมพูชา (Cambodia)


กัมพูชา เป็นประเทศที่เกิดสงครามภายในมายาวนาน และมีการยุติลงในปี 2534 จึงค่อยๆ มีการพัฒนาประเทศ โดยกัมพูชากำหนดนโยบายมุ่งการพัฒนาทางการเกษตร การท่องเที่ยว และมีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ


3. อินโดนีเซีย (Indonesia)



ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยภาคการผลิต ที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ภาคบริการ ภาคหัตถอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และเหมืองแร่ 

นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรรธรรมชาติที่มีค่าทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง แร่เหล็ก เป็นต้น 

เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

 4. ลาว (Laos)
ประเทศลาว มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง ลาว จีน ไทย เวียดนาม ด้วยภาคผลิตการเกษตร ป่าไม้

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

5. มาเลเซีย (Malaysia)

มาเลเซีย เป็นอีกประเทศที่พึ่งพาเหมืองแร่ และการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ซุง และดีบุก และมีรายได้หลักมาจากการผลิตสินค้าและบริการ

โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ภายในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

6. พม่า (Myanmar)
อาชีพหลักของ ประชาชนในประเทศ จะเป็นการเกษตรกร เช่น การปลูกข้าวเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ อุตสาหกรรม พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

7. ฟิลิปปินส์ (Philippines)


ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน และมีการกระจายรายได้โดยไม่เท่าเทียมกัน และยังประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง ฟิลิปินส์ มีสินค้านำเข้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เหล็ก ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

8. สิงคโปร์ (Singapore)


สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดเสรีทางการค้า และมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงเท่ากับกลุ่มประเทศในยุโรป
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

9. เวียดนาม (Vietnam)


สินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม จะเป็นประเภทสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยังเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะว่า มีประชากรจำนวนมาก และค่าจ้างแรงงานต่ำ อีกทั้งชาวเวียดนาม ยังมีอุปนิสัยขยันอีกด้วย
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

10. ประเทศไทย (Thailand)

ประเทศไทย มีสินค้าส่งออกได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบรถยนต์ แผงวรจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครือ่งประดับ และผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ เงินแท่งและทองคำ 
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


อ้างอิง
www.sanook.com